วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วัฒนธรรมที่ต่างกัน

แม้ว่ามนุษย์จะแตกต่างกันทั้งเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม หรือความเป็นอยู่ แต่เราทุกคนก็สามารถรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกบางอย่างได้เหมือนกัน ด้วยการดูหรือสังเกตเอาจากสีหน้าที่แสดงอารมรณ์ออกมา แต่การแสดงอารมณ์ทางสีหน้าได้มีการถกเถียงกันต่อไปอีกว่า มนุษย์เราสามารถรับรู้ได้จากการเรียนรู้ทางสังคม หรือ เกิดจากพันธุกรรม เนื่องจากมีการค้นพบว่า กิริยาท่าทางหรือฟฤติกรรมต่าง ๆ ของผึ้งเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม



มีการสื่อความหมายผ่านทางอากัปกิริยาที่ทำให้ฝูงผึ้งค้นพบแหล่งอาหารแหล่งใหม่ได้เสมอ จึงเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าการสื่อความหมายจากการเคลื่อนไหวหรือฟฤติกรรมบางอย่างเป็นสิ่งที่ได้รับมาจากการถ่ยทอดทางพันธุกรรมไม่ใช่การเรียนรู้

กระับวนการรับรู้ในสมอง เกิดจากการที่ข้อมูลในสมองเกิดขึ้นเองโดยกระทันหัน และเนื้อหาของข้อมูลนั้น จะเชื่อมโยงกับสิ่งที่กระตุ้นเกิดการแสดงออกทางสีหน้าในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ นั้น ได้แก่ ความสุข ความทุกข์ เศร้าใจ ตกใจ ประหลาดใจ โกรธ ดีใจ อับอาย เกลียดชัง เจ็บแค้น จึงสรุปได้ว่า สมองคือตัวบงการ



ควบคุมการแสดงออกทางสีหน้า มันจะควบคุมกล้ามเนื้อทุกมัด ที่อยู่บนใบหน้าเพื่อแสดงสีหน้า มันควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณมุมปากให้ยกขึ้น เมื่อเรามีความสุขหรือดีใจ และบัีงคับให้มุมปากตกลงได้เมื่อรุ้สึกโกรธ ไม่พอใจ และย่นหน้าฝากเมื่อเกิดความสงสัย

ส่วนการแสดงสีหน้าที่เิกิดจากการเรียนรู้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับประเพณีปฏิบัติ เป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมนั้น ๆ กำหนดเป็นการตอบสนองต่อสถานะการณ์ในขณะนั้นโดยมีสภาพสังคมเป็นตัวกำหนด กฎเกณฑ์การแสดงสีหน้า สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม ลักษณะของวัฒนธรรมหรือสมาชิกในสังคม ทำให้เราต้องคอยเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ เราไม่สามารถสื่อความหมายถึงสิ่งหนึ่งในอีกสังคมหนึ่งหรืออีกวัฒนธรรมหนึ่งได้ กิริยาท่าทางหนึ่ง ก็เหมาะสมกับสภาพสังคมหรือวัฒนธรรมหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้




เพราะการสื่อความหมายอาจจะผิดพลาดได้ ในสภาพสังคมหรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ด้วเหตุนี้จึงสามารถสรุปรวมได้ว่า ภาษาหรือกิริยาท่าทางบางอย่างก็ไม่ต้องอาศัยการเรียนรู้ มันเกิดขึ้นเองตามสัญชาตญาณของเรา แต่บางอย่างต้องพึ่งพาการเรียนรุ็หรือเกิดจากการเลียนแบบซึ่งจะได้กล่าวในส่วนอื่นต่อไป