วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ลักษณะท่าทางต่าง ๆ
โดยธรรมชาติแล้วคนเรามักจะมีการเปลี่ยนแปลงท่าต่าง ๆ ประมาณ 2-4 ท่า ในระยะเวลา 20 นาที แต่นักจิตวิทยาที่นั่งให้คำปรึกษาผู้คนนั้น จะเปลี่ยนท่าเพียงท่าเดียวตลอดเวลา 20 นาที และในระหว่างการสนทนาก็มักจะนั่งพิงพนักเก้าอี้ แขน ขาไหว้กัน เพื่อแสดงว่าเขากำลังตั้งใจฟังคนไข้ของเขาอยู่ แต่เมื่อเขาฟังจนมาถึงจุดที่เขามีความไม่เห็นด้วย จึงเปลี่ยนท่าทางหรือมีการเคลื่อนไหวเพื่อเป็นการบอกใบ้ จากนั้นก็จะโน้มตัวไปข้างหน้า ปล่อยมือและขาที่ประสานหรือพันกันออกมา
และอาจจะยกนิ้วชู้ขึ้นเมื่อต้องการโต้แย้ง และเมื่อโต้แย้งแล้วก็จะแอนหลังไปพิงพนักเก้าอีเหมือนเดิม นั่งไขว้ขา กอดอก ถ้าเอนหลังจะไม่ไขว้ขา แสดงว่าเขากำลังเปิดโอกาสให้แนะนำหรือเสนอความคิดเห็นได้
เมื่อคนเราพูดคุยกันได้ระยะหนึ่งแล้ว จะจบหรือยุติการสนทนาลงช่วงหนึ่ง และจบด้วยการเคลื่อนไหวหรือย้ายสถานที่ เช่น ลุกเดินไปเข้าห้องน้ำ เดินออกไปจากห้อง เคลื่อนไหวร่างกายเพื่อเป็นการขัดจังหวะการสนทนา และเมื่อทั้งสองฝ่ายกลับมาที่เดิมอีกครั้ง จึงเริ่มสนทนาขึ้นใหม่อีกครั้งหรือดำเนินการสนทนาต่อไป
ในบางครั้งภาษาท่าทางที่แสดงออกมาก็มีความสัมพันธ์กับอารมณ์ของผู้แสดงอาการนั้น ๆ ซึ่งคนที่อาจจะยังไม่เข้าใจในภาษาท่าทางดีนัก ก็จะสามารถเข้าใจในความหมายของท่าทางสภาวะอารมณ์แทน บางครั้งในระดับจิตสำนึกแล้ว เราไม่อาจรู้มาก่อนเลยว่า กิริยาท่าทางที่เราเห็นนั่นหมายถึงอะไร แต่ในระดับของจิตใต้สำนึกแล้ว เราสามารถรับรู้และเข้าใจในท่าทางที่สื่อออกมาได้ ดังนั้นเราจึงพอสรุปประเด็นนี้ได้ว่า เราไม่สามารถให้คำจำกัดความหรือความหมายของท่าทางต่าง ๆ ได้เสมอไป แต่สามารถรับรู้ได้ว่าเมื่อใดที่เห็นท่าทางแบบนี้ มักจะมีความหมายถึงอะไรบ้าง เมื่อมีการเคลื่อนไหวร่างกาย เรารู้เพียงแค่ว่ามีบางอย่างเกิดขึ้น แต่ไม่รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น จึงจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจ ในความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ แล้วพยายามรวบรวมสรุปออกมาให้ได้
ป้ายกำกับ:
ลักษณะท่าทางต่าง ๆ