วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ระยะห่าง
















ในการแสดงอาณาเขตมองมนุษย์นั้น จะมีตัวกำหนดเขตแดนตัวเองเอาไว้อย่างชัดเจน และมีระยะห่างระหว่างบุคคลอื่นที่แบ่งแยกกันไปตามลักษณะความสำพันธ์ ซึ่งระยะห่างนี้เองที่สามารถบอกได้ถึงความสำพันธ์ของคนสองคน ที่กำลังยืนพูดคุยกันอยู่ได้

1. ระยะใกล้ชิด ในระยะดังกล่าวจะมีความห่าง 15- 45 ซม. เป็นระยะที่คนเราหวงแหนมากที่สุด ราวกับว่ามันเป็นสมบัติอันล้ำค่า และมักเกิดขึ้นเมื่อมีเพศสำพันธ์หรือ กับคนที่มีความสนิทสนมใกล้ชิดกันมาก ๆ หรือเกิดกับลูกที่ติดพ่อแม่แจ หรือเด็กที่เกาะติดกันเอง เมื่อการยืนอยู่ระยะใกล้ชิด แสดงว่าเรารุ็จักมักคุ้นฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างดี แต่ถ้าผู้ชายสองคน ยืนอยุ่ในระยะนี้เขาจะรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว แต่ถ้าเป็นชายหญิงที่สนิทสนมกัน เป็นคู่รักกัน ระยะนี้จะเป็นระยะที่เหมาะสม และดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด

2. ระะยะส่วนตัว ใช้สำหรับพบปะคนรู้จักหรือเพื่อนฝูง ในระยะนี้ สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 2 ระยะด้วยกัน คือระยะส่วนตัวที่อยู่ในระยะไกล้ชิด และพื้นที่ส่วนตัวในระยะไกล















โดยระยะใกล้จะมีระยะห่าง 45-75 ซม. เช่นการถือ หรือจับมือคนรัก ส่วนพื้นที่ส่วนตัวระยะไกลจะอยู่ในระยะห่างประมาณ 75-120 ซม. ซึ่งถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของอำนาจการยึดครอง ในระยะนี้จะเริ่มสัมผัสคนรักหรือฝ่ายตรงข้ามได้สะดวกขึ้น แต่ใกล้พอสำหรับการถกเถียงเรื่องส่วนตัว

3. ระยะห่างทางสังคม ใช้สำหรับคนที่ไม่ค่อยคุ้นเคยหรือสนิทสนมด้วย อยู่ในระยะห่างประมาณ 1-4 เมตร มักใช้ในกรณีที่มีการเจรจาค้าขายกัน ระยะห่างระหว่างเจ้านายกับลูกน้อง ข้อดีของระยะนี้คือ จะเปิดโอกาสให้เขาได้ป้องกันตัวและป้องกันการกระทำที่ไม่สุภาพ

4. ระยะห่างของสาธารณชน ใช้ในการอยู่ในฝูงชน กลุ่มคน มีการแบ่งแยกย่อยออกเป็นระยะใกล้ ประมาณ 2-8 เมตร เป็นระยะที่เหมาะสำหรับการรวบรวมที่ไม่เป็นทางการ เช่นระยะห่างของครูกับนักเรียนทั้งห้อง และระยะไกลออกไป ซึ่งเป็นระยะตั้งแต่ 7 เมตรขึ้นไป มักใช้กับนักการเมือง เนื่องจากเป็นระะยะที่ปลอดภัยและเหมาะแก่การแสดงกิริยาท่าทางเพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้ชม โดยที่เขาอาจจะไม่ต้องพูดแต่ความจริงเสมอไป ระะยะดังกล่าวนี้เป็นระยะที่โกหกได้ง่ายที่สุด ด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยจะพบการใช้ระยะห่างดังกล่าวในโรงละคร

















ความรู้สึกหนึ่งที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมากกว่าการเรียนรู้จากสังคมคือ ความรู้สึกเป็นเจ้าของอาณาเขตของตน สัตว์บางจำพวกจะยึดครองอาณาเขตหรือดินแดนที่เป็นของตัวเองชั่วคราวเท่านั้น และจะเคลื่อนย้ายไปตามระยะเวลาหรือฤดูกาล แต่สัตว์บางจำพวกจะปักหลักตั้งถิ่นฐานและอยู่อย่าถาวรอยู่ที่ใดที่หนึ่ง โดยไม่มีการโยกย้ายไปใหนอีก ธรรมชาติของมนุษย์ก็เป็นเช่นเดียวกัน พวกเราจะมีสัญชาตญาณเกี่ยวกับอาณาเขตมาตั้งแต่เกิด และจะไม่มีวันจากหายไปตราบจนสิ้นอายุขัย อาณาเขตและการกำหนดเขตของตัวเอง เป็นแรงกระตุ้นจากความต้องการที่จะปกป้องดินแดนของตกเอง และแรงกระตุ้นดังกล่าวนี้ จึงทำให้มนุษย์เป็นสัตว์ที่รู้จักรักษาดินแดนของตนเอง

แต่ในสภาพความเป็นจริงในสังคมปัจจุบัน มนุษย์มีอาณาเขตของตัวเองถอยลงไป โดยสังเกตได้จากตามเมืองใหญ่ ๆ หรือจังหวัดสำคัญ ๆ เริ่มมีที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไปจากเดิม จากที่เคยมีบ้านและที่ดิน ก็มาเปลี่ยนเป็นสิ่งปลูกสร้าง ตึกสูงที่ทะยานสูงขึ้นไป จนดูเหมือนว่ามันกำลังจะทะลุขึ้นท้องฟ้าไป มนุษย์มีการเียดเสียดยัดเยียดกันทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งขึ้นรถลงเรือ ซึ่งหนีไม่พ้นการกระทบกระทั่ง สัมผัสถูกตัวกันบ้าง ทั้ง ๆ ที่ธรรมชาติของมนุษย์มีความต้องการีอาณาเขตของตัวเอง ไม่ชอบการรุกล้ำเข้ามาในอาณาเขตของตัวเองหรือเข้าไกล้เรามากเกินไป

















ผลที่ตามมาจากการรุกล้ำอาณาเขตของคนในเมืองก็คือความรู้สึกอึดอัด เหมือนถูกคุกคามและส่งผลต่อสุขภาาพจิต คนในเมืองมักจะมีสุขภาพจิตที่ย่ำแย่กว่าคนในชนบทหรือชานเมือง

แต่ละคนจะพยายามใช้ภาษากายที่มีอยู่ทั้งหมดแสดงออกมาเมื่อเขารู้สึกว่าอาณาเขตส่วนตัวของเรากำลังถูกบุกรุก เช่น การก้าวถอยหลัง เดินหนี การโยก เขย่า แกว่งขาไปมา การเคาะนิ้ว สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนแรกที่บอกถึงภาวะตึงเครียดและเตือนฝ่ายตรงข้ามให้รู้ตัวว่าเขากำลังถูกบุกรุกอยู่ การเข้าไปไกล้ตัวเขาทำให้เขารู้สึกอึดอัด ไม่สบาย จากนั้นก็จะมีการเตือนชุดที่ 2 ออกมา ด้วยการหลับตา ก้มหน้า จนคางชิดอก ห่อไหล่ นั่งกอดเข่า ซึ่งเป็นการบอกใบ้ว่าเขากำลังบับไล่ผู้บุกรุกให้พ้นไปจากอาณาเขตของเขา

ห้องสมุดหรือห้องอ่านหนังสือ จะเป็นสถานที่ที่สามารถอธิบายถึงการบุกรุกได้ดีที่สุด เพราะภายในมีบรรยากาศที่เงียบสงบ ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในความเงียบและก่อให้เกิดความเป็นส่วนตัวขึ้น โดยปกติแล้วคนที่เข้ามาใช้บริการของห้องสมุด จะแยกตัวจากคนอื่น ๆ พยายามนั่งให้ห่างจากคนอื่น แต่เมื่อใดก็ตามที่มีการบุกรุกเข้าไปในอาณาเขตส่วนตัวของใครสักคน เช่นเข้าไปนั่งไกล้ ๆ หรือนั่งฝ่ายตรงข้าม คนคนนั้นจะเตือนด้วยภาษากายและเริ่มป้องกันตัวเองด้วยการเปลี่ยนท่าน พยายามเตือนแล้วเปลี่ยนเป็นเดินหนีไปหาที่นั่งใหม่เงียบ ๆ เอง
















ในบางครั้งการบุกรุกอาณาเขตส่วนตัวก็ถูกตอบโต้กลับมาด้วยความรุนแรง ผู้ต้องหาคดีทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่น้อยถูกรบกวนหรือถูกบุกรุกอาณาเขตส่วนตัวก่อน จึงโต้กลับไปด้วยการทำร้ายร่างกายส่วนใหญ่แล้วคนเรามักจะรุกล้ำอาณาเขตด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ

  1. ผู้บุกรุกเป็นญาติพี่น้องหรือเพื่อน
  2. ผู้บุกรุกเป็นศัตรูและกำลังจู่โจม ซึ่งเมื่อถูกบุกรุกจากคนแปลกหน้า คนเราจะมีอาการดังต่อไปนี้ทันที นั่นคือ หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ร่างกายหลั่งสารอะดีนาลีนออกมาสู่กระแสเลือด จากนั้นก็จะสูบฉีดขึ้นไปที่สมองและกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ เพื่อเตรียมการต่อสู้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
แต่เมื่อใดที่เราอยู่ในกลุ่มคนที่กำลังชุมนุมกันอยู่ เช่น การแสดงดนตรี มีการเบียดเสียด สัมผัดกันบ้างเล็กน้อย หรือการยืนโหนรถประจำทางที่มีผู้โดยสารเต็มและแน่นขนัด เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้และเกิดปฏิกิริยาตอบโต้ เช่น จะยืนนิ่งไม่พูดจากับใครนอกจากคนที่รู้จักพยายามหลบตาคนอื่นตลอดเวลา ไม่แสดงอารมณ์ใด ๆ ออกทางใบหน้า ถ้ามีหนังสือหรือข้อความเล็ก ๆ จะพยายามอ่านมัน แม้ว่าจะอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีกก็ตาม ยิ่งมีคนเยอะการเคลื่อนใหวร่างกายน้อยลง ถ้าอยู่ในลิฟต์โดยสาร จะเงิยหน้ามองแต่ตัวเลขบอกชั้นเท่านั้น




.









การเคลื่อนไหวที่เข้าไปในระยะใกล้ชิดของเพศตรงข้าม เป็นวิธีแสดงความสนใจในตัวคนนั้น และมักจะเรียกว่าการประชิดตัว แต่ถ้าก้าวเข้าไปไกล้อีกผ่ายหนึ่ง ทำให้อีกฝ่ายต้องถอยหลังไปก้าวหนึ่ง เพื่อรักษาระยะห่าง แต่ถ้าก้าวเข้าประชิดแล้วไม่ถูกปฏิเสธ ทั้งสองผ่ายก็จะรักษาระยะดังกล่าวเอาไว้ ดังนั้นการที่บุคคลอื่น ๆ จะยอมรับหรือปฏิเสธการรุกล้ำเข้ามาอีกฝ่าย ขึ้นอยู่กับอาณาเขตส่วนตัวของฝ่ายที่ถูกรุกล้ำว่ามีมากน้อยแค่ไหน